25 มีนาคม 2558

การใช้Zotero



         

การเขียนอ้างอิงจะไม่เป็นปัญหายุ่งยากอีกต่อไปเมื่อใช้โปรแกรม Zotero  เป็นผู้ช่วยในการจัดเก็บ และส่งออกข้อมูล  มาเรียนรู้วิธีใช้กันเลยค่ะ








ZOTERO เป็นโปรแกรมจัดการทางบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า "Reference management" เหมือนกับ Endnote และ Reference Manager พัฒนาโดย Center for History and New Media , George Mason University โดย ได้รับเงินสนับสนุนจาก United States Institute of Museum and Library Services, the Andrew W. Mellon Foundation และ The Alfred P. Sloan Foundation  เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ ใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ Firefox และ Flock สำหรับการจัดเก็บรายการบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง และสาระสังเขป รูปภาพ แหล่งที่มาซึ่งอาจเป็นเอกสารชนิดต่างๆ ที่เป็นรายการอ้างอิง เช่น ไฟล์ PDF, รูปภาพ โปรแกรมสามารถสืบค้นมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลห้องสมุด ฯลฯ

คุณสมบัติของ Zotero ที่สามารถช่วยรวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อจัดทำบรรณานุกรม และทำงานสนับสนุนอื่นๆ ดังนี้


 1. ผู้ใช้สามารถสืบค้น รวบรวม ถ่ายโอน (Export) และจัดการกับรายการบรรณานุกรมอย่างเป็นระบบ รวมถึง เอกสารฉบับเต็ม แฟ้มข้อมูล เว็บเพจ รูปภาพ ลิงก์ และไฟล์ชนิดอื่นที่สืบค้นได้จากแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เรียกว่าขั้นเทพเลยนั่นก็คือ แหล่งข้อมูลดังๆ ที่ดึงข้อมูลมาได้ชื่อดัง (URL: http://www.zotero.org/translators/) เช่น
+ ฐานข้อมูลห้องสมุด (OPAC) เช่น LOC (Library of Congress), WorldCat/FirstSearch, OhioLink เป็นต้น
+ ฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น IEEE Xplore, ISI Web of Science, LexisNexis, ScienceDirect, ABI-Inform, ERIC, Nature และ ProQuest Digital Dissertations & Theses เป็นต้น
+ เว็บไซต์ เช่น Amazon.com, Google Books, Google Scholar, BBC News, CiteSeer, CiteULike เป็นต้น 
     2.  ผู้ใช้สามารถสร้างห้องสมุดส่วนตัวเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่สืบค้นได้จากแหล่งข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการดังกล่าวได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
     3.  จัดทำและนำเสนอบรรณานุกรมได้หลากหลายรูปแบบ (http://www.zotero.org/styles) ได้แก่ APA (American Psychological Association), MLA (Modern Language Association), Chicago Manual of Style, IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นต้น หรือจะแก้ไขภาบยหลังก็ได้
     4.  มี Feature สำหรับการสืบค้นขั้นสูง (Advanced search) และนำเทคโนโลยี Data mining มาประยุกต์ใช้ กำหนด tag หรือป้ายข้อมูลได้ ค้นหาก็ยังได้อีก เแสดงรายการ tag ที่มีแล้วมาแสดงให้ดูด้วย
     5.  สร้างและแชร์รูปแบบรายการบรรณานุกรมในแบบตนเองด้วย Citation Style Language (CSL)
     6.  ผู้ใช้สามารถสร้างและแก้ไขรายการบรรณานุกรมตามรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายดายและในเวลารวดเร็ว
     7.  ผู้ใช้สามารถสามารถแทรกรายการบรรณานุกรมที่ต้องการลงไปในตัว เล่มวิทยานิพนธ์ รายงานหรือบทความ รวมถึง เอกสารฉบับเต็ม เว็บเพจ รูปภาพ และไฟล์ชนิดอื่นๆ ขณะกำลังเขียนรายงาน
     8.  มี Post-It และ Notepad เพื่อจดบันทึกข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องการ หรือช่วยเตือนความจำในแต่ละรายการ
     9.  ทำงานได้ทั้งในลักษณะ Online และ Offline (เช่น การจดบันทึก การสืบค้นและการจัดการภายในคอลเล็กชั่น)
    10.  สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลระหว่างกันได้ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาเรื่องนั้นๆ
    11.  รองรับตัวอักษร Unicode จึงสามารถนำเข้า (Import) จัดเก็บ รวบรวม และถ่ายโอน (Export) ข้อมูลหลายภาษา
    12.  สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วไป ได้แก่ Microsoft Word และ OpenOffice,บนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac และ Linux

วิธีการดาวน์โหลดติดตั้ง
ไปที่เว็บไซต์ https://www.zotero.org  เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม 

คลิกที่ Download Now เพื่อทำการติดตั้งแบบ web browser

                            
                                     ติดตั้ง Zotero ในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้ Mozilla firfox



จะปรากฏข้อความให้อนุญาติการติดตั้ง




คลิก "ติดตั้งเดี๋ยวนี้"




เมื่อติดตั้งเสร็จสิ้น ระบบจะให้คลิก "เริ่มใหม่ทันที" เพื่อเริ่มการใช้ใน Browser




เปิดหน้าเว็บที่ต้องการจัดเก็บรายการบรรณานุกรม เช่น จากเว็บ OPAC Search 
เมื่อสืบค้นคลิกไอคอน Z ที่ menu bar  จากนั้นจะปรากฏแถบหน้าต่าง Zotero ขึ้นมาด้านล่าง



คลิกที่รายการที่ต้องการแก้ไข ซึ่งสามารถแก้ไขข้อมูล สามารถเพิ่ม ลด ได้




เลือกรายการทีต้องการ คลิกขวา เลือก "สร้างบรรณานุกรมจากรายการที่เลือก"



เลือกรูปแบบบรรณานุกรม คลิก ตกลง 




เปิดไฟล์ที่ Save ไว้ ซึ่งจะได้รายการบรรณานุกรมทีบันทึกมา จะเห็นว่าสะดวกรวดเร็วมากๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น